วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม






Degenerative Disc Disease 
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

หมอนรองกระดูกคืออะไร 
     กระดูกสันหลังของ เราประกอบด้วยกระดูกหลายๆ ชิ้นมาต่อกัน ระหว่างกระดูกเหล่านี้จะมีอวัยวะชนิดหนึ่งคั่นอยู่เราเรียกว่า หมอนรองกระดูก เพราะฉะนั้นกระดูกสันหลังมีกี่อัน หมอน รองกระดูกก็มีใกล้เคียงกันครับ หมอนรองกระดูก มีชื่อตามตำราว่า Intervertebral disc ถ้าจะจำเพาะลงไป ตามตำแหน่งก็เป็นว่า หมอนรองกระดูกคอ เรียกว่า Cervical disc และหมอนรองกระดูกที่เอวเรียกว่า Lumbar disc หมอนรองกระดูกไม่ได้เป็นกระดูกครับ แต่จะประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วนคือ วงรอบนอกจะเป็นเอ็นแข็งๆ (Anular ligament) และใจกลางจะเป็นเหมือนเจลใสๆ (Nucleus pulposus) ทั้งหมดมีหน้าที่รับแรกกระแทกและทำให้เราเคลื่อนไหว 


อาการ
       
    อาการแสดงของกระดูกคอเสื่อม
1.        ไม่มีอาการแสดง อาจจะมีอาการเมื่อยๆคอ เป็นๆหายๆ แต่ก็ไม่ได้สังเกต ไม่ได้รักษา
2.        ปวดคอเรื้อรัง กินยาแก้ปวดก็ดีขึ้น ต่อมากลับมาปวดคออีก บางรายเวลาแหงนคอก็มีอาการปวดร้าวไปบริเวณสะบักหรือหัวไหล่
3.        ปวดคอร้าวไปแขน แสดงว่ากระดูกคอเสื่อมเริ่มมีการกดทับเส้นประสาท อาจจะมีประวัติ เหมือนมีไฟช๊อตร้าวจากคอไปบริเวณข้อศอกหรือนิ้วมือ เสียวแปล๊บๆ ต่อมาอาการเสียวดีขึ้นแต่รู้สึกชาและปวดแขน แขนล้าไม่มีแรง
4.        ไม่มีอาการปวดคอแต่รู้สึกปวดไหล่ ร้าวไปข้อศอก ปวดล้าๆ เมื่อย อาจจะมีอาการชาร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
5.        มีอาการเดินเซ หรือแขนขา อ่อนแรง โดยไม่ปวดคอ (Cervical  myelopathy) ถ้ามีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงก็ทำให้เดินไม่ได้ หรือควบคุมการอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้
     อาการแสดงของกระดูกสันหลังเสื่อม
1.        มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน
2.        มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ  ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นก็จะเดินต่อไป  ได้ บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกหลังจะค่อยๆ ค่อมลงเวลาเดิน
3.        ในผู้ป่วยบางราย พบว่ามีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการชาขาและปลายเท้า เป็นเหน็บ
4.        ผู้ป่วยบางคนจะไม่รู้สึกปวด แต่จะรู้สึกล้าๆ บริเวณขา ขาไม่มีแรง ก้าวไม่ออกเวลาเดิน  
5.        อาจพบว่ามีตะคริวบริเวณน่องบ่อยๆ ขณะนอนหลับในเวลากลางคืนต้องตื่นขึ้นเนื่องจากอาการปวดน่อง หรือปวดขามาก
6.        พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
               อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี
   
สาเหตุ
   อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจากการใช้งานข้อต่อบริเวณต่างๆ มากเกินไป อาทิ บริเวณกระดูกส่วนคอจากการก้มๆ เงยๆ ทำกิจกรรมต่างๆ และกระดูกบั้นเอว ที่มีการบิดตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการก้มหรือเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก หรือคอ บางครั้งมีร้าวไปที่ก้นและต้นขา
    อาการนี้พบได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปี โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้เร็วกว่าผู้หญิง เนื่องจากลักษณะการทำงานอาจต้องใช้แรงมาก อย่างไรก็ตาม โรคกลุ่มนี้แม้พบไม่บ่อย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่หายขาด ในรายที่มีอาการมาก เป็นเรื้อรังอาจต้องทำการผ่าตัดหรือเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม
    การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อมจากเดิมจะใส่กระดูกเทียม หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เข้าแทนที่ ปัจจุบันมีนวัตกรรม เรียกว่า หมอนรองกระดูกเทียม ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงโลหะเลียนแบบกระดูกตามธรรมชาติ แกนกลางเป็นพลาสติกยืดหยุ่น และสามารถเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงหมอนรองกระดูกตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนใหญ่จะทำในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 60 ปี และรักษาด้วยการให้ยาและทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล และต้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกอย่างเดียว ไม่มีอาการของการกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือข้อมูลบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในระยะยาว

การรักษา
    การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี
 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท จากรูปจะเห็นว่า มีการแบ่งลักษณะของหมอนรองกระดูกออกเป็นระยะๆ ทั้งนี้เนื่องจากการรักษาในแต่ละระยะแตกต่างกัน



1.
     ในระยะ Protusion ผนังของหมอนรองกระดูกจะยังไม่เสีย ความยืดหยุ่นไปมากนัก การรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด ตลอดจนการรู้จักวิธี เสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังเพื่อป้องกันไม่ให้มีการอักเสบ จะสามารถช่วยให้อาการของโรคไม่กำเริบและหายได้ในที่สุด
2.
    ในระยะ Prolapse ในระยะนี้ผนังของหมอนรองกระดูกเริ่มเสียความยืดหยุ่นไปแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับแตกจนส่วนแกนในไหลออกมา การรักษาโดยการ
ผ่าตัดน่าจะได้ผลดีที่สุด
3.
     ระยะ Extrusion ผ่าตัดแน่นอนครับ
4.
    ระยะ Sequestration ระยะนี้ก็ต้องผ่าตัดเหมือนกันครับ
        จะเห็นได้ว่า ทั้งสี่ระยะโอกาสที่จะไม่ต้องผ่าตัดมีเพียงระยะแรกเท่านั้น การผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา แม้ว่า ปัจจุบันอันตรายจะน้อยลงกว่าสมัยก่อนมากมายก็ตาม การป้องกัน ไม่ให้โรคเลื่อนจากระยะแรกจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุด 

การรักษาและการผ่าตัด

1.       กรณีหมอนรองกระดูกคอ
การรักษา
รักษาแบบอนุรักษ์นิยม
·         พักผ่อนนอนราบ เพื่อที่กระดูกคอไม่ต้องแบกรับน้ำหนัก
·         ใช้กระเป๋าน้ำร้อน (Hot pack) ประคบบริเวณคอ 10-15 นาที
·         ถ้าปวดมากให้ใช้ปลอกคอ (Soft collar or hard collar) ช่วยพยุงคอได้ โดยเฉพาะในช่วงปวดคอเฉียบพลันในสัปดาห์แรก
·         กินยาแก้ปวด ซึ่งได้แก่ กลุ่มพาราเซ็ตทามอล, ยาคลายกล้ามเนื้อ หรืออาจจะใช้ยาทานวดช่วยได้ สำหรับกลุ่มยาลดการอักเสบ ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกว่า ยากระดูก อาจจะต้องระวังเนื่องจากจะมีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้
·         การนวดจับเส้น ไม่แนะนำในระยะปวดเฉียบพลัน เพราะจะทำให้อาการอักเสบมากยิ่งขึ้น
·         การบริหารคอ กลุ่มปวดคอเรื้อรังควรมีการบริหารคอเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกคอ และบริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอให้แข็งแรง โดยให้ลำคออยู่แนวตรง ใช้ฝ่ามือวางบริเวณเหนือหู เกร็งกล้ามเนื้อคอดันสู้ฝ่ามือ โดยไม่ให้คอเคลื่อนไหว หรือเกิดอาการปวด นับ 1-10 แล้ว ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ประมาณ 3 รอบต่อวัน และให้วางฝ่ามือบริเวณ หน้าผาก เพื่อเกร็งกล้ามเนื้อ ดันสู้ฝ่ามือ  ทำเหมือนเดิม ฝึกทำบ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงช่วยพยุง
·         การทำกายภาพในโรงพยาบาล โดยการให้ความร้อนอัลตราซาวด์  หรือดึงคอเป็นการรักษาวิธีหนึ่ง ซึ่งช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้
แนวทางป้องกัน

  • § หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หยุดสูบบุหรี่
  • §     ระวังอิริยาบถขณะทำงาน ไม่ก้ม-เงยคอนานเกินไป
  • §     ขณะทำงานควรหาเวลาหยุดพัก เพื่อออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ ชั่วโมง
  • §     เก้าอี้นั่งทำงานควรมีพนักพิง หนุนคอได้พอดี
  • §    เวลานอน ใช้หมอนหนุนบริเวณก้านคอ ไม่ให้ศีรษะก้ม หรือ เงยมากเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือ ศีรษะอยู่ระดับเดียวกับพื้น
  • §    ออกกำลังกาย ฝึกกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรง

การผ่าตัด
ข้อบ่งชี้
·         การรักษาทางอนุรักษ์นิยม 6-8 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น
·         ยังคงมีอาการปวดตลอดเวลา ทำให้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเสียไป
·         มีอาการชา หรือแขนอ่อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะได้รับการรักษาอยู่
   การผ่าตัดอันตรายไหม
                พบว่าการผ่าตัดกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทสมัยใหม่มีความปลอดภัยสูงมากและการผ่าตัดได้ผลดีมาก 90-95 % ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลไม่เกิน 5 วัน ก็สามารถลุกยืนเดิน ทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ
การผ่าตัดทำอย่างไร
·         แผลผ่าตัดอยู่บริเวณลำคอด้านหน้า ยาวประมาณ 3-5 ซม. ขึ้นอยู่กับกระดูกคอที่ทำการผ่าตัด ว่ามีหลายข้อหรือไม่ ถ้ามีข้อเดียวแผลก็จะเล็กมาก
·         ผ่าตัดเข้าไปเอาส่วนหมอนรองกระดูก และหินปูน หรือกระดูกงอกซึ่งกดทับเส้นประสาทออก
·         เชื่อมกระดูกที่เสื่อมเข้าด้วยกันด้วยการใส่กระดูกที่ตัดมาจากกระดูกเชิงกรานแถวสะโพกชิ้นเล็กๆ หรือปัจจุบันก็มีกระดูกเทียมมาใช้ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการปวด จากกระดูกที่ถูกตัดมาใช้ในการเชื่อมกระดูกคอเข้าด้วยกัน
·         การเชื่อมกระดูกอาจมีการใช้โลหะช่วยดาม ถ้ากรณีมีการเชื่อมกระดูกหลายๆข้อ เพื่อให้เกิดความมั่นคง และทำให้กระดูกที่เชื่อม ติดสูง โดยโลหะที่ใส่เป็นเหล็กไททาเนียม ซึ่งไม่เกิดสนิม หรือผลข้างเคียง สามารถใส่ตลอดชีวิตได้
·         ปัญหาการเชื่อมกระดูกคอหลายๆข้ออาจทำให้เกิดการสูญเสียการก้มเงย หรือการหมุนคอได้ลดลง ปัจจุบันจึงมีการใช้ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอเทียม (Cervical Disc prosthesis)  แทนการเชื่อมกระดูก ก็จะทำให้กระดูกคอกลับมาเคลื่อนไหวได้อย่างเดิม แต่ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอเทียมมีราคาแพงมาก
พักฟื้นอย่างไร
ปกติการผ่าตัดกระดูกคอเสื่อมใช้เวลา 3-5 วัน นอนในโรงพยาบาล ก็สามารถกลับบ้านได้ ส่วนใหญ่อาการปวดของคนไข้จะดีขึ้นทันที หลังผ่าตัดสามารถลุกยืนเดิน ทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ปลอกคอเพื่อป้องกันมิให้คอมีอาการ ก้ม เงย มากเกินไปในช่วงแรกหลังการผ่าตัด

2.       กรณีหมอนรองกระดูกสันหลัง
การรักษา
·         หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดน้ำหนักตัว และหยุดสูบบุหรี่
·          การกินยาแก้ปวด ยากระดูก ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่แพทย์ทั่วไปคุ้นเคย จนบางครั้งใช้ยานานจนทำให้เกิดผลข้างเคียง
·         การใช้เสื้อรัดเอว เพื่อพยุงหลังซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ ช่วง 1-2 สัปดาห์แรก สำหรับผู้ป่วยที่อาการปวดหลังมาก สำหรับการใช้ในระยะยาวไม่พบว่าได้ประโยชน์จากการใส่เสื้อดังกล่าว และมีผลทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ
·         การออกกำลังกาย ได้แก่ การเดินออกกำลังกายบนสายพาน การว่ายน้ำ การถีบจักรยาน ผู้ป่วยที่มีอายุมากอาจใช้วิธีง่ายๆโดยการนอนหงาย และยกขาที่ละข้างสลับกัน 30 - 50 ครั้ง การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น และช่วยให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรงขึ้นได้
·         การทำกายภาพบำบัด การอบความร้อนโดยการใช้ถุงร้อน หรืออัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ตลอดจนการดึงหลัง (Lumbar traction) ซึ่งผู้ป่วยจะต้องมาทำที่แผนกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่อาจจะทำให้อาการดีขึ้นได้
·         การฉีดยาเข้าช่องประสาทไขสันหลัง (Epidural steroid injection) อาจช่วยให้อาการดีขึ้นในระยะสั้นๆ 3-6 เดือน
การผ่าตัด
 ข้อบ่งใช้
·         การรักษาโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น 6-8 สัปดาห์ แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นและรบกวนการทำงานในกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน
·         มีอาการมากขึ้น เช่น กล้ามเนื้อมีการอ่อนแรงมากขึ้น
·         หากมีอาการรุนแรง ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ และปัสสาวะได้ เป็นภาวะรีบด่วนที่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไข เพื่อให้เส้นประสาทฟื้นตัวกลับมาเร็วที่สุด

คือ การผ่าตัดเพื่อเอากระดูกงอก หรือหินปูน ที่มีการกดทับเส้นประสาทออก ส่วนใหญ่ได้ผลดี 80-90 % อาการปวดจะดีขึ้นมาก หรือลดลงเหลือน้อยมากโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกลับมาเดินได้ไกลขึ้น การผ่าตัดในอดีตในกรณีที่ต้องตัดกระดูกและหินปูนที่กดทับเส้นประสาทออก หลายๆข้อทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กระดูกสันหลังไม่มั่นคง (Unstable) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังหรือกระดูกสันหลังผิดรูปได้ ตลอดจนทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทอีก ปัจจุบันจึงมีการวิวัฒนาการที่ทันสมัย มีการใช้เหล็กดามกระดูกไว้ เหล็กที่ใช้เป็นวัสดุที่ทำจาก       ไททาเนียม ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายไม่เกิดสนิม ทำให้ผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นยืน เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ หลังจากการผ่าตัดได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากได้รับการรักษาจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญในด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โอกาสที่การ

การป้องกัน สามารถทำได้โดย
1. พบแพทย์ทันทีที่มีอาการปวดหลังแล้วร้าวลงขา
2. ให้ความสำคัญกับการปวดหลังทุกครั้ง อย่าลืมว่าคนปกติไม่ปวดหลังนะครับ หาสาเหตุทุกครั้งที่มีอาการปวดหลัง หาเองไม่พบก็ไปพบแพทย์
3. พึงระลึกไว้เสมอว่า การทานยารักษาอาการปวดหลังเป็นการรักษาปลายเหตุ การรักษาคือต้องแก้ที่สาเหตุ และสาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อยที่สุดคือ การอยู่ในท่าต่างๆ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
4. Warm ร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ทำ Stretching Exercise ของกล้ามเนื้อหลังทุกครั้งก่อนออกรอบ
5. 
การนวดจะดีสำหรับอาการเมื่อยและไม่ดีสำหรับอาการปวด ถ้าท่านไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่เป็นอาการปวดหรือเมื่อย ก็ไม่ควรไปนวด เพราะจะทำให้อาการแย่ลงในกรณีที่ไปเจอหมอนวดประเภทมือใหม่ไฟแรง
คำแนะนำ
- ลดน้ำหนักลง เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกดที่กระดุกสันหลังเมื่อเรานั่งหรือยืน ถ้าน้ำหนังมากแรงกดก้มาก ช่องที่ให้เส้นประสาทออกมาก็ยิ่งแคบลงไปใหญ่(Intervertebral foramen)
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก้มๆ เงยๆ หรือยกของหนักๆ หรือแม้แต่การนั่งรถนานๆ เพราะคนไข้ที่มารักษาเมื่อรู้สึกเบาขึ้นก็จะเผลอไปทำนู่นทำนี่ แล้วมันก็กลับมาปวดมากกว่าเดิม แล้จะมาย้อนถามนักกายภาพว่าทำไม คงต้องถามตัวเองมากกว่านะ
- ถ้าจำเป็นอาจต้องใส่เสื้อพยุงหลัง (Lumbar support) แต่ไม่แนะนำให้ใส่ตลอดเวลา ใส่เท่าที่จำเป็น เช่นตอนนั่งรถ เดิน หรือทำกิจกรรมต่างๆ เพราะเสื้อพยุงจะมาทำหน้าที่แทนกล้ามเนื้อท้องและหลังช่วยรับนำ้หนัก และเพิ่มแรงดันในช่องท้องแทนกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเมื่อไม่ได้ทำงานนานๆ ก็จะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ ความมั่นคงก้จะลดลง







  ปัจจุบันมีวิธีรักษาแบบใหม่โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดใหญ่ เรียกว่า Nucleoplasty หรือ การจี้ด้วยคลื่นความร้อน เทคนิคในการทำ Nucleoplasty คือจะใช้การฉีดยาเฉพาะที่บริเวณที่จะใช้เข็มเจาะ โดยมีเครื่องเอ็กซเรย์ช่วยในการมองภาพหมอนรองกระดูกสันหลังเข็มที่เจาะลงไปจะมีแกนในซึ่งเป็นหัวจี้ ปล่อยคลื่นความร้อนออกมาจี้ที่หมอนรองกระดูกสันหลัง มีผลให้ความดันในหมอนรองกระดูกลดล ทำให้เกิดการดึงหมอนรองกระดูกที่ยื่นอยู่ให้กลับเข้ามา เส้นประสาทที่กระดูกกดทับอยู่ก็ฟื้นสภาพได้ ผลข้างเคียงอาจมีอาการระบมจากการเจาะเข็มบ้างเล็กน้อย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขาเป็น ๆ หาย ๆ และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด
ประโยชน์จากการรักษาด้วยวิธี Nucleoplasty
          แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็วไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หลังผ่าตัดอาจต้องพัก 1-2 ชั่วโมง และสามารถกลับบ้านได้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ การใช้วิธีนี้ยังสามารถลดการอักเสบภายในหมอนรองกระดูกได้ด้วย มีผลให้อาการปวดหลังและปวดขาลดลง
credit : 

1 ความคิดเห็น: